ซิมโฟนีหมายเลข 5 ในบันไดเสียง ซี ไมเนอร์ (Symphony No. 5 in C Minor) ของเบโทเฟิน เป็นผลงานที่เขาประพันธ์ขึ้นในช่วง ค.ศ. 1804-1808 ในแคตตาล็อกผลงานของเบโธเฟนระบุเลขโอปุส 67 (Opus 67) ซิมโฟนีบทนี้นับว่าเป็นหนึ่งในงานดนตรีคลาสสิกที่ได้รับความนิยมสูงสุด และรู้จักกันแพร่หลายที่สุด รวมทั้งถูกนำออกแสดงและได้รับการบันทึกเสียงมากที่สุดบทหนึ่ง
ซิมโฟนีบทนี้มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักอย่างรวดเร็ว หลังจากนำออกแสดงครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1808 ในเวลานั้น เอินสท์ เธโอดอร์ อมาดิอุส ฮอฟมันน์ (Ernst Theodor Amadeus Hoffmann) ได้บรรยายเอาไว้ว่า "นับเป็นหนึ่งในผลงานชิ้นสำคัญที่สุดแห่งยุค"
เนื่องจากโน้ตหลัก 4 ตัวของเพลงคล้ายกับรหัสมอร์ส (คือ จุด จุด จุด ขีด) ที่ตรงกับอักษรโรมัน V โน้ตหลักนี้จึงใช้เป็นเครื่องหมายของคำว่า "victory" (ชัยชนะ) ในพิธีเปิดการออกอากาศสถานีวิทยุบีบีซี (BBC) ของอังกฤษในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 อันเป็นความคิดของวิลเลียม สตีเฟนสัน (William Stephenson)
ซิมโฟนีบทนี้ออกบรรเลงเป็นรอบแรก เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม ค.ศ. 1808 โดยเบโธเฟนเป็นผู้ควบคุมวงด้วยตนเอง โอกาสดังกล่าวถือว่าเป็นคอนเสิร์ตครั้งใหญ่ ประกอบด้วยผลงานใหม่ทั้งหมดของเบโธเฟน โดยได้แสดงที่โรงละครในกรุงเวียนนา และมีรายการแสดงดังนี้
สำหรับซิมโฟนีหมายเลข 5 และหมายเลข 6 ซึ่งประพันธ์ขึ้นในเวลาใกล้เคียงกันนั้น ปรากฏในโปรแกรมคอนเสิร์ตเป็นหมายเลข 6 และ 5 ตามลำดับ แต่ในปัจจุบันมีการลำดับหมายเลขสลับกันตามลำดับการพิมพ์
เบโธเฟนอุทิศซิมโฟนีบทนี้ให้แก่ผู้อุปถัมภ์สองคน ได้แก่ เจ้าชาย F.J. von Lobkowitz และ เคาน์ Andreas Razumovsky คำอุทิศนั้นปรากฏในการพิมพ์ครั้งแรก เมื่อเดือนเมษายน ค.ศ. 1809
สามท่อนแรกนั้นเรียบเรียงสำหรับเครื่องดนตรีต่าง ๆ ได้แก่ ฟลู้ต 2 เลา, โอโบ 2 เลา, บีแฟลต คลาริเน็ต 2 เลา , บาสซูน 2 เลา, ฮอร์น 2 คัน, ทรัมเป็ต 2 คัน, กลองทิมปะนี และเครื่องสาย ได้แก่ ไวโอลิน 1 และไวโอลิน 2, วิโอลา, เชลโล และดับเบิลเบส ส่วนท่อนสุดท้ายได้เพิ่มปิคโคโล, คอนทราบาสซูนอย่างละเลา และทรอมโบน 3 คัน (อัลโต,เทเนอร์ และเบส)
ซิมโฟนีหมายเลข 5 อยู่บันไดเสียง ซีไมเนอร์ (C minor) มีนักวิจารณ์ให้ความเห็นว่าสำหรับเบโธเฟนแล้ว บันไดเสียงนี้เป็นตัวแทนของ “น้ำเสียงแบบวีรบุรุษ และมีความเกรี้ยวกราด” และเขาใช้บันไดเสียงนี้สำหรับงานที่มีความเข้มข้นเป็นพิเศษ หรือ สงวนไว้สำหรับดนตรีที่แสดงออกทางอารมณ์สูงสุดของเขา
เสียงโน้ต 4 พยางค์ จากมูฟเมนต์ที่ 1 ของซิมโฟนีหมายเลข 5 ถูกนำมาใช้ซ้ำหลายครั้งในดนตรียุคหลัง เช่น
อ่านบทความฉบับสมบูรณ์ได้ที่ http://th.wikipedia.org/wiki/ซิมโฟนีหมายเลข_5_(เบโทเฟน)